เกี่ยวกับอาเซียน

ประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน  เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมอาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เช่น โรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด



ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน

การก่อตั้งประชาคมอาเซียน

อาเซียนตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.  2510 หลังการลงนามในปฏิญญาสมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) โดยรัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่

• นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการะทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย

• ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย

• นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์

• นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงค์โปร์

• และ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย

เป้าหมายหลักของประชาคมอาเซียน

จัดตั้งประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2558 โดยแบ่งเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่

• ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

• ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

• ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ

อาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่

ประเทศ ชื่อทางการ เมืองหลวง
บรูไน รัฐบรูไนดารุสซาลาม  (State of Brunei Darussalam) บันดาร์เสรีเบกาวัน
กัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) พนมเปญ
อินโดนีเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) จาการ์ตา
ลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) เวียงจันทน์
มาเลเซีย มาเลเซีย (Malaysia) กัวลาลัมเปอร์
พม่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar) เนปิดอว์
ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) มะนิลา
สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) สิงคโปร์
ไทย ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) กรุงเทพมหานคร
เวียดนาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) ฮานอย


ที่มา : http://www.thai-aec.com/


คำขวัญอาเซียน  (ASEAN's Motto)

“One Vision, One Identity, One Community”
“หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
ที่มา :http://www.aseantalk.com/index.php?topic=42.0


ธงอาเซียน


ความหมาย

ธงอาเซียนคือสิ่งที่แสดงถึงความมั่นคง สันติภาพ ความเป็นเอกภาพ และพลวัติของอาเซียน และเป็นที่มาของสี 4 สีที่ปรากฏอยู่บนธงซึ่งไม่มีเพียงแต่จะรวบรวมจากสีของธงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด แต่สีน้ำเงิน ยังหมายถึง สันติภาพและความมั่นคงมีเสถียรภาพ สีแดงคือความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาวคือความบริสุทธิ์และสีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง

ตราสัญลักษณ์ของอาเซียน

รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้เป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ร่วมก่อตั้งอาเซียน เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

วงกลมที่อยู่รอบรวงข้าว แสดงถึงความเป็นเอกภาพ ความเป็นหนึ่งเดียวและความสมานฉันท์ของอาเซียน

สีของตราสัญลักษณ์ มีความหมายดังนี้

สีน้ำเงิน  หมายถึง สันติภาพและความมั่นคงมีเสถียรภาพ

สีแดง     หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

สีขาว     หมายถึง ความบริสุทธิ์

สีเหลือง  หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


ที่มา : http://www.thai-aec.com/

เพลงอาเซียน

         การจัดทำเพลงประจำอาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากการหารือในที่ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสารสนเทศ (ASEAN Committee on Culture and Information) ครั้งที่ 29  เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 เห็นควรให้มีการเปิดเพลงประจำอาเซียนในช่วงของการจัดกิจกรรมต่างๆ  และได้กำหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียน ข้อที่ 40 ให้อาเซียนมีการจัดทำเพลงประจำอาเซียน ซึ่งประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันประกวดเพลงประจำอาเซียนให้แล้วเสร็จก่อนการให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนและการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในปี พ.ศ.2552 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ  รูปแบบการแข่งขันเป็น open competition   โดยให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น 
          เนื้อร้องเพลงประจำอาเซียนต้องมีเกณฑ์ ดังนี้ คือ (1) เป็นภาษาอังกฤษ (2) มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน (3) มีความยาวไม่เกิน 1 นาที (4) เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ (5) เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่  ซึ่งเพลงจากประเทศไทยชื่อ The ASEAN Way ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ตัดสินโดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน โดยคณะผู้ประพันธ์ ได้แก่
1. นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง)
2. นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง)
3. นางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง)
       เพลง The ASEAN Way ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ต่อมาได้มีการประพันธ์เนื้อร้องภาษาไทยเพิ่มเติมโดย นายสุรักษ์ สุขเสวี เป็นผู้ประพันธ์

The ASEAN Way
Raise our flag high, sky high.
Embrace the pride in our heart.
ASEAN we are bonded as one.
Look'in out to the world.
For peace our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream,
We care to share.
Together for ASEAN.
We dare to dream,
We care to share
For it's the way of ASEAN.


คำแปล
ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า
โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน


เนื้อร้องภาษาไทย 
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล
ที่มา : http://asean.bangkok.go.th/asean/index.php